วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

นกกินปลีแดงหัวไพลิน

นกกินปลีแดงหัวไพลิน
นกกินปลีแดงหัวไพลิน

นกกินปลีแดงหัวไพลิน (อังกฤษ:Fire-tailed Sunbird;ชื่อวิทยาศาสตร์ :Aethopyga ignicauda) เป็นนกเกาะคอนขนาดเล็ก ยาว 11-19 เซนติเมตร มีลักษณะร่วมของนกกินปลีมีจะงอยปากยาวโค้ง ลำตัวเรียวยาว ตัวผู้จะมีสีสันโดดเด่นกว่าตัวเมีย ตัวผู้หางสีแดงสดยาว 10-15 เซนติเมตร ตัวเมียไม่มีจุดเด่นใดๆ อาศัยในป่าดิบบนภูเขาหรือป่าสนเขา ระดับสูงหลายพันเมตร แพร่กระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาสูง แนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ทิเบต จีนตอนใต้ และพม่า ในประเทศไทยพบเฉพาะดอยผ้าห่มปก และดอยลาง มักจะทำรังห้อยแขวนไว้บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก ด้วยใบไม้แห้ง ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน

รูปร่างลักษณะ เป็นนกขนาดเล็กมาก ความยาวจากปลายปากจดหาง 11.5 - 19 ซม. นกตัวผู้ คล้ายนกกินปลี หางยาวคอสีฟ้า ( Mr's Gould 's Sunbird แต่มีหาง และขนคลุมหางด้านบนสีแดง ขนหางคู่กลางยาวกว่า 7.5 ซม. ตัวผู้ของชนิดย่อยที่มีสีคล้ำ คล้ายนกตัวเมียที่โตเต็มวัย แต่ยังพอมีสีแดงที่ข้างหางและขนคลุมหางด้านบน มีแต้มสีเหลือง ที่โคนหางและท้อง นกตัวเมีย คล้ายกับนกตัวเมียของนกกินปลีหางยาวเขียว (Green - tailed Sunbird ) แต่โคนหางสีออก เหลือง มากกว่า ปลายหางตัดตรงไม่ยาวแหลมเหมือนนกตัวผู้ ไม่มีสีขาวที่ปลายหาง เหมือนนกกินปลีหางยาว เขียวตัวเมีย ด้านข้างของหางมีสีส้มอมน้ำตาลเจืออยู่เล็กน้อยพอสังเกตได้ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีชนิดย่อยอื่นอีก คือ A .i . flavescens พบทางภาคตะวันตกของพม่า

แหล่งอาศัยหากิน ป่าดงดิบเขาสูง ป่าสน ชายป่า ป่าชั้นรองในที่สูง โดยเฉพาะป่าที่มีต้นกุหลาบพันปีขึ้นอยู่ มาก ( Rhododendron ) และป่าที่มีไม้จำพวกโอ๊ค หรือไม้จำพวก ต้นก่อเขา ขึ้นอยู่ ในระดับความสูง 1,220 - 3,960 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในแถบเชิงเขาหิมาลัย พบทำรังวางไข่ที่ระดับความสูงมากกว่า 2,745 เมตรขึ้นไป อาหารได้แก่ น้ำหวาน จากดอกไม้ จำพวกดอกกุหลายพันปี ดอกสน ก่อเขา แมลงตามต้นไม้บางชนิด แมงมุม ตัวอ่อน และ ไข่ของแมลง

ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ ในประเทศอินเดียพบ ทำรังวางไข่ระหว่างเดือน เมษายน ถึง มิถุนายน ทำรังด้วย รากไม้ เส้นใยของใบไม้ที่เนื้อใบผุกร่อนหลุดไปหมดแล้ว หุ้มภายนอกรังพลางตาศัตรู ด้วยมอส และ ตะไคร่สีเขียว หรือกล้วยไม้ หรือเถาวัลย์สีเขียว ลักษณะรังห้อยยาวตรงกลางเป็นกระเปาะ คล้ายของนกกินปลีหางยาวเขียว วางไข่ครอกละ 2 - 3 ฟอง เปลือกไข่สีขาว มีแต้ม หรือ ประจุดเล็กๆสีน้ำตาล และ มีประจุดหนาแน่นเป็นวงกลมที่ด้านป้านของไข่ ขนาดของไข่ 15.6 X 11.8 มม.

การแพร่กระจายพันธุ์ เป็นนกประจำถิ่น แต่เคลื่อนย้ายตามแหล่งหากินในเขตภูเขาสูง ของ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของอินเดีย (แถบภูเขาหิมาลัย) , ตอนใต้ของทิเบต , ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน , สำหรับเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือ และภาคตะวันตกของพม่า เป็นนกอพยพ ผ่าน ทางภาคกลางของพม่า , ภาคตะวันตก เฉียงเหนือ ของไทย

สำหรับประเทศไทย เป็นนกอพยพมาในฤดูหนาว นอกฤดูผสมพันธุ์ ที่พบน้อยและหายากมาก รายงานเก่า ระบุว่าพบที่ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนกกินปลีที่หางยาว ที่สุด ของประเทศไทย ลักษณะคล้ายนกกินปลีหางยาวเขียว โดยเฉพาะอกมีแต้มสีแดง และท้องสีเหลือง แต่มีหาง และ ขนคลุมโคนหางด้านบนสีแดง น่าจะพบได้ทางยอดตะนาวศรีด้าน ทิศตะวัน ตก ที่ติดประเทศพม่า และ ยอดเขาสูงอื่นๆทางภาคเหนือบ้าง ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

แหล่งข้อมูล : " A Field guide to The birds of thailand and South east Asia " By Craig Robson

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น